welcom to my blogger

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษา 5

การศึกษา 5
-------------------------------------------------------------
รายละเอียดของแต่ขั้นตอนในกระบวนการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 1 “การบ่งชี้ความรู้” (Knowledge Identification) หมายถึง การบ่งชี้ความรู้ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี วิเคราะห์รูปแบบ และแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยดูว่าเราต้องมีความรู้เรื่องอะไร และเรามีความรู้เรื่องนั้นแล้วหรือยัง เพื่อหาว่าความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับผู้เรียน จัดลำดับ ความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้ผู้เรียนวางขอบเขตของการจัดการความรู้ และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 2 “การสร้างและแสวงหาความรู้” (Knowledge Creation and Acquisition) หมายถึง การสำรวจ/วิเคราะห์ว่าความรู้ที่เราต้องการรู้นั้นอยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไร แล้วจะนำมาเก็บรวมกันได้อย่างไรโดยการค้นคว้าจากตำรา อินเตอร์เน็ต จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จากภายในและภายนอกเพื่อนำมาจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนทื่ 3 “การจัดความรู้ให้เป็นระบบ” (Knowledge Organization) หมายถึง การนำความรู้ที่รวบรวมมาจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภทของความรู้เพื่อจัดทำให้ง่าย เป็นระบบ สะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 4. “การประมวลและกลั่นกรองความรู้” (Knowledge Codification and Refinement) หมายถึง การนำความรู้นั้นมาจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่ายพร้อมทั้งเรียบเรียงและปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาและค้นคว้า
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 5. “การเข้าถึงความรู้” (Knowledge Access) หมายถึง การนำความรู้ที่ผ่านการประมวลและกลั่นกรองเรียบร้อยแล้ว มาจัดการเผยแพร่ เพื่อดูว่าคนในสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายหรือไม่ และสามารถนำมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น การจัดทำเว็บจดหมายเวียน บอร์ดประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย Intranet ของผู้เรียน
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอน 6. “การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้” (Knowledge Sharing) หมายถึง การนำความรู้นั้นมาแบ่งปัน โดยใช้เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน รวมถึงการจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จะช่วยให้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอน 7. “การเรียนรู้” (Learning) หมายถึง การเรียนรู้โดยมีนัยคือ Learning by doing ว่า ความรู้ที่จำเป็นซึ่งถูกบ่งชี้หรือกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 นั้น ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และนำมาช่วยในการแก้ปัญหา เพื่อปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ความรู้นั้นทำให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนหรือไม่ ทำให้ผู้เรียนดีขึ้นหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น