welcom to my blogger

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

เหลียงหวงเป่าชั่น เล่มที่ 4 หน้า 285 

เหลียงหวงเป่าชั่น เล่มที่ 4 หน้า 285
----------------------------------------------------------------------
ถ้าใครเคยอ่านแล้วทำความเข้าใจถึงตอนนี้ของเหลียงหวงเป่าชั่น 顯果報 หรือ การปรากฏผลของอกุศลวิบาก ตอนหนึ่งที่จะยกมา
----------------------------------------------------------------------
........คือในสมัยหนึ่ง เป็นกาลศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า “กบิล” เป็นพหูสูต แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นผู้มีบริวารมาก มีลาภสักการะมากมาย
........แต่มีความหยิ่งทระนงในองค์ความรู้ที่ตัวเองมี ถือว่าเป็นผู้ฉลาด แต่ภิกษุรูปนี้เป็นผู้หย่อนในธรรมวินัย
........นานวันเข้าภิกษุรูปนี้ก็เกิดความมัวเมาในความรู้ ความเป็นพหูสูตของคน และตั้งตัวเป็นผู้วินิจฉัยความผิดถูกต่างๆ กลับดีเป็นชั่ว กลับชั่วเป็นดี
----------------------------------------------------------------------
........ดังที่ในเหลียงหวงกล่าวไว้ว่า “善說不善....不善說善” ภิกษุทั้งหลายก็ออกปากเตือน แต่กบิลภิกษุมีทิฐิมานะไม่สนใจจะฟัง
........ดังที่พระพุทธเจ้าศากยมุนีกล่าวไว้ใน กปิลสูตร ขอยกมาสองตอนดังนี้
----------------------------------------------------------------------
........พระกปิละนั้นมีบริวาร เพราะอาศัยปริยัติ เพราะอาศัยบริวาร ลาภก็เกิดขึ้น พระกปิละนั้นเมาด้วยการเมาในการที่ตนเป็นพาหุสัจจะ ศำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต มีความสำคัญว่าตนรู้ แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
........กล่าวสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ที่ภิกษุเหล่าอื่นกล่าวแล้วว่าเป็นอกัปปิยะ คือเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
........กล่าวสิ่งที่สมควรว่าไม่สมควร แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะก็กล่าวว่าเป็นกัปปิยะ แม้สิ่งที่มีโทษก็กล่าวว่าไม่มีโทษ แม้สิ่งที่ไม่มีโทษก็กล่าวว่ามีโทษ
----------------------------------------------------------------------
อีกตอนหนึ่งจากพระสูตร
----------------------------------------------------------------------
........ภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รักก็ทอดทิ้งพระกปิละนั้นเสีย. พระกปิละนั้นเป็นผู้ประพฤติชั่ว มีภิกษุประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่
........วันหนึ่งคิดว่า เราจะลงอุโบสถ แล้วก็ขึ้นสู่อาสนะอันประเสริฐ จับพัดอันวิจิตร พอนั่งลงก็พูดขึ้น ๓ ครั้งว่าอาวุโสทั้งหลาย ปาติโมกข์ย่อมควรแก่ภิกษุทั้งหลายในที่นี้หรือ.
........ครั้งนั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์ย่อมควรแก่ข้าพเจ้า ทั้งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์ย่อมควรแก่พระกปิละนั้น หรือแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
........ลำดับนั้น พระกปิละนั้นก็พูดว่า เมื่อปาติโมกข์พวกเราฟังก็ดี ไม่ฟังก็ดี ชื่อว่าวินัยไม่มีหรอก ดังนี้ แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะ.
........พระกปิละนั้น ทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะให้เสื่อมถอย คือ ให้พินาศแล้วด้วยประการฉะนี้.
----------------------------------------------------------------------
......ในกาลต่อมา ท่านพระโสธนเถระก็ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง พระกปิละ นั้นก็มรณะแล้วก็บังเกิดในอเวจีมหานรก มารดาและน้องสาวของท่านที่มีความเห็นตามท่าน และด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็เกิดในนรก.
----------------------------------------------------------------------
ข้อความในพระสูตรที่พระศากยมุนีได้แสดงไว้ดังนี้
----------------------------------------------------------------------
........พระกบิลภิกษุมรณภาพ ด้วยวิบากแห่งความเห็นผิด และหย่อนในพระธรรมวินัย ประพฤติผิดในทำนองคลองธรรม เป็นเหตุให้ไปเกิดในอเวจีมหานรกหนึ่งพุทธันดร
........หลั.จากนั้นจึงไปเกิดในภูมิเดรัจฉาน โดยไปเกิดเป็นปลาทอง ปลา กบิลนี้แม้จะมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม มีสีทองเหลืองอร่าม
........แต่ปากของปลานี้มีกลิ่นเหม็นมาก เหม็นตลบไปทั้งพระนคร พระบรมศาสดาจึงทรงรับสั่งว่า
........ปลานี้เมื่อก่อนเคยเป็นภิกษุชื่อว่า กบิล เป็นพหูสูตมีบริวารมาก แต่ประพฤติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นรับสั่งดังนั้นแล้วจึงตรัสกปิลสูตร ขอยกมาส่วนหนึ่งดังนี้
----------------------------------------------------------------------
........พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ปลานี้เป็นภิกษุพหูสูต ผู้เรียนจบปริยัติ ชื่อว่ากปิละ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากัสสปะ
........เป็นผู้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายซึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของตน เป็นผู้ทำศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสื่อมไป
........เพราะกรรมที่เธอทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นให้เสื่อมไป เธอจึงบังเกิดในอเวจีมหานรก
........และก็มาเกิดเป็นปลาในบัดนี้ด้วยเศษแห่งวิบาก ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมที่เธอได้กล่าวพุทธพจน์ สรรเสริญพระพุทธคุณเป็นเวลานาน
........เธอจึงได้วรรณะเช่นนี้ เพราะเหตุที่เธอได้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น