welcom to my blogger

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษา 4

การศึกษา 4
----------------------------------------------------------
........กรอบแนวคิดในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ
........1. แนว Prescriptive เป็นการจัดการความรู้ตามพัฒนาการของการจัดการความรู้ ได้แก่
........1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
........2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
........3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
........4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
........5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
........6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
........7. การเรียนรู้ (Learning)
........8. การประเมินผล
---------------------------------------------------------
........2.แนว Descriptive เป็นการจัดการความรู้ตามปัจจัยหรือสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องการให้สำเร็จ มีองค์ประกอบ 3 ประการ
........กำหนดเป้าหมาย หรือสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำให้สำเร็จ
........กำหนดปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้การจัดการความรู้ดำเนินการอย่างราบรื่น ได้แก่วัฒนธรรมองค์กร เทคโนโลยี การสื่อสาร/ โครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ การวัดผลการจัดการความรู้
........การสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การวางแผน To be vs as is การออกแบบบทบาทหน้าที่ เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงาน การนำไปปฏิบัติ การนำร่อง การดำเนินการตามแผน การขยายผลไปในองค์กร การฝึกอบรมและการเรียนรู้
----------------------------------------------------------
........3.แนวผสมผสาน ระหว่างแนว Prescriptive และแนว Descriptive กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย
........1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
........2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
........3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
........4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
........5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
........6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
........7. การเรียนรู้ (Learning)

การศึกษา 5

การศึกษา 5
-------------------------------------------------------------
รายละเอียดของแต่ขั้นตอนในกระบวนการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 1 “การบ่งชี้ความรู้” (Knowledge Identification) หมายถึง การบ่งชี้ความรู้ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี วิเคราะห์รูปแบบ และแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยดูว่าเราต้องมีความรู้เรื่องอะไร และเรามีความรู้เรื่องนั้นแล้วหรือยัง เพื่อหาว่าความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับผู้เรียน จัดลำดับ ความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้ผู้เรียนวางขอบเขตของการจัดการความรู้ และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 2 “การสร้างและแสวงหาความรู้” (Knowledge Creation and Acquisition) หมายถึง การสำรวจ/วิเคราะห์ว่าความรู้ที่เราต้องการรู้นั้นอยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไร แล้วจะนำมาเก็บรวมกันได้อย่างไรโดยการค้นคว้าจากตำรา อินเตอร์เน็ต จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จากภายในและภายนอกเพื่อนำมาจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนทื่ 3 “การจัดความรู้ให้เป็นระบบ” (Knowledge Organization) หมายถึง การนำความรู้ที่รวบรวมมาจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภทของความรู้เพื่อจัดทำให้ง่าย เป็นระบบ สะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 4. “การประมวลและกลั่นกรองความรู้” (Knowledge Codification and Refinement) หมายถึง การนำความรู้นั้นมาจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่ายพร้อมทั้งเรียบเรียงและปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาและค้นคว้า
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอนที่ 5. “การเข้าถึงความรู้” (Knowledge Access) หมายถึง การนำความรู้ที่ผ่านการประมวลและกลั่นกรองเรียบร้อยแล้ว มาจัดการเผยแพร่ เพื่อดูว่าคนในสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายหรือไม่ และสามารถนำมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น การจัดทำเว็บจดหมายเวียน บอร์ดประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย Intranet ของผู้เรียน
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอน 6. “การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้” (Knowledge Sharing) หมายถึง การนำความรู้นั้นมาแบ่งปัน โดยใช้เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน รวมถึงการจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จะช่วยให้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
-------------------------------------------------------------
........ ขั้นตอน 7. “การเรียนรู้” (Learning) หมายถึง การเรียนรู้โดยมีนัยคือ Learning by doing ว่า ความรู้ที่จำเป็นซึ่งถูกบ่งชี้หรือกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 นั้น ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และนำมาช่วยในการแก้ปัญหา เพื่อปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ความรู้นั้นทำให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนหรือไม่ ทำให้ผู้เรียนดีขึ้นหรือไม่

การศึกษา 6

การศึกษา 6
------------------------------------------------------------
ทักษะการสรุปบทเรียน
........ การสรุปบทเรียนเป็นการที่ผู้เรียนพยายามรวบรวมความคิด ความเข้าใจของตนเองจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ว่าได้สาระสำคัญ หลักเกณฑ์ หลักการ หรือแนวคิดสำคัญในช่วงการเรียนนั้นอย่างไรบ้าง
........ ทั้งนี้เพื่อผู้เรียนจะได้รับประเด็นสำคัญของบทเรียนได้ถูกต้องว่ามีอะไรบ้าง และจะนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมได้อย่างไร
-------------------------------------------------------------
เทคนิคการสรุปบทเรียน
........ 1.สรุปโดยอธิบายสั้นๆ ชัดเจน ทบทวนสาระสำคัญที่เรียนมา
........ 2.สรุปโดยอุปกรณ์หรือรูปภาพประกอบ
........ 3.สรุปโดยสนทนาซักถาม
........ 4.สรุปโดยสร้างสถานการณ์
........ 5.สรุปโดยนิทานหรือสุภาษิต
........ 6.สรุปโดยการปฎิบัติ
........ 7.สรุปโดยใช้เทคโนโลยีการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น บล๊อค ไซต์ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ ที่เป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร วีดีโอ วีดีทัศน์ เสียง

เหลียงหวงเป่าชั่น เล่มที่ 4 หน้า 285 

เหลียงหวงเป่าชั่น เล่มที่ 4 หน้า 285
----------------------------------------------------------------------
ถ้าใครเคยอ่านแล้วทำความเข้าใจถึงตอนนี้ของเหลียงหวงเป่าชั่น 顯果報 หรือ การปรากฏผลของอกุศลวิบาก ตอนหนึ่งที่จะยกมา
----------------------------------------------------------------------
........คือในสมัยหนึ่ง เป็นกาลศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า “กบิล” เป็นพหูสูต แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นผู้มีบริวารมาก มีลาภสักการะมากมาย
........แต่มีความหยิ่งทระนงในองค์ความรู้ที่ตัวเองมี ถือว่าเป็นผู้ฉลาด แต่ภิกษุรูปนี้เป็นผู้หย่อนในธรรมวินัย
........นานวันเข้าภิกษุรูปนี้ก็เกิดความมัวเมาในความรู้ ความเป็นพหูสูตของคน และตั้งตัวเป็นผู้วินิจฉัยความผิดถูกต่างๆ กลับดีเป็นชั่ว กลับชั่วเป็นดี
----------------------------------------------------------------------
........ดังที่ในเหลียงหวงกล่าวไว้ว่า “善說不善....不善說善” ภิกษุทั้งหลายก็ออกปากเตือน แต่กบิลภิกษุมีทิฐิมานะไม่สนใจจะฟัง
........ดังที่พระพุทธเจ้าศากยมุนีกล่าวไว้ใน กปิลสูตร ขอยกมาสองตอนดังนี้
----------------------------------------------------------------------
........พระกปิละนั้นมีบริวาร เพราะอาศัยปริยัติ เพราะอาศัยบริวาร ลาภก็เกิดขึ้น พระกปิละนั้นเมาด้วยการเมาในการที่ตนเป็นพาหุสัจจะ ศำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต มีความสำคัญว่าตนรู้ แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
........กล่าวสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ที่ภิกษุเหล่าอื่นกล่าวแล้วว่าเป็นอกัปปิยะ คือเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
........กล่าวสิ่งที่สมควรว่าไม่สมควร แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะก็กล่าวว่าเป็นกัปปิยะ แม้สิ่งที่มีโทษก็กล่าวว่าไม่มีโทษ แม้สิ่งที่ไม่มีโทษก็กล่าวว่ามีโทษ
----------------------------------------------------------------------
อีกตอนหนึ่งจากพระสูตร
----------------------------------------------------------------------
........ภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รักก็ทอดทิ้งพระกปิละนั้นเสีย. พระกปิละนั้นเป็นผู้ประพฤติชั่ว มีภิกษุประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่
........วันหนึ่งคิดว่า เราจะลงอุโบสถ แล้วก็ขึ้นสู่อาสนะอันประเสริฐ จับพัดอันวิจิตร พอนั่งลงก็พูดขึ้น ๓ ครั้งว่าอาวุโสทั้งหลาย ปาติโมกข์ย่อมควรแก่ภิกษุทั้งหลายในที่นี้หรือ.
........ครั้งนั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์ย่อมควรแก่ข้าพเจ้า ทั้งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์ย่อมควรแก่พระกปิละนั้น หรือแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
........ลำดับนั้น พระกปิละนั้นก็พูดว่า เมื่อปาติโมกข์พวกเราฟังก็ดี ไม่ฟังก็ดี ชื่อว่าวินัยไม่มีหรอก ดังนี้ แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะ.
........พระกปิละนั้น ทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะให้เสื่อมถอย คือ ให้พินาศแล้วด้วยประการฉะนี้.
----------------------------------------------------------------------
......ในกาลต่อมา ท่านพระโสธนเถระก็ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง พระกปิละ นั้นก็มรณะแล้วก็บังเกิดในอเวจีมหานรก มารดาและน้องสาวของท่านที่มีความเห็นตามท่าน และด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็เกิดในนรก.
----------------------------------------------------------------------
ข้อความในพระสูตรที่พระศากยมุนีได้แสดงไว้ดังนี้
----------------------------------------------------------------------
........พระกบิลภิกษุมรณภาพ ด้วยวิบากแห่งความเห็นผิด และหย่อนในพระธรรมวินัย ประพฤติผิดในทำนองคลองธรรม เป็นเหตุให้ไปเกิดในอเวจีมหานรกหนึ่งพุทธันดร
........หลั.จากนั้นจึงไปเกิดในภูมิเดรัจฉาน โดยไปเกิดเป็นปลาทอง ปลา กบิลนี้แม้จะมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม มีสีทองเหลืองอร่าม
........แต่ปากของปลานี้มีกลิ่นเหม็นมาก เหม็นตลบไปทั้งพระนคร พระบรมศาสดาจึงทรงรับสั่งว่า
........ปลานี้เมื่อก่อนเคยเป็นภิกษุชื่อว่า กบิล เป็นพหูสูตมีบริวารมาก แต่ประพฤติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นรับสั่งดังนั้นแล้วจึงตรัสกปิลสูตร ขอยกมาส่วนหนึ่งดังนี้
----------------------------------------------------------------------
........พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ปลานี้เป็นภิกษุพหูสูต ผู้เรียนจบปริยัติ ชื่อว่ากปิละ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากัสสปะ
........เป็นผู้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายซึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของตน เป็นผู้ทำศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสื่อมไป
........เพราะกรรมที่เธอทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นให้เสื่อมไป เธอจึงบังเกิดในอเวจีมหานรก
........และก็มาเกิดเป็นปลาในบัดนี้ด้วยเศษแห่งวิบาก ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมที่เธอได้กล่าวพุทธพจน์ สรรเสริญพระพุทธคุณเป็นเวลานาน
........เธอจึงได้วรรณะเช่นนี้ เพราะเหตุที่เธอได้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น.

เปรตทาน การให้ทานแก่เปรต ผีอดอยาก

เปรตทาน การให้ทานแก่เปรต ผีอดอยาก
-----------------------------------------------------------------
.........1/ พระอาจารย์เหลียนฉือชี้แนะแก่ผู้ทำซือสือ(อุทิศอาหารแก่วิญญาณ)ว่า ไม่ควรปฏิบัติเป็นของเล่น
.........มิเช่นนั้น หากภูติผีเกิดจิตโทสะ อาจเอาถึงชีวิตได้ ภพภูมิของวิญญาณและคนแตกต่างกัน
.........ผีไม่สนใจว่าเธอจะเป็นยังไง หากเธอไม่สามารถทำให้เขาสยบได้ ผีก็ไม่เกรงใจเธอเช่นกัน
.........หากทำซือสือเพียงแค่เรื่องพิธีการบังหน้า ใจไม่มีมหาเมตตามหากรุณา ก็ยังเป็นการลบหลู่ธรรมะอีกด้วย
.........จะไม่ให้ภูตผีเขาคับแค้นใจได้อย่างไร พึงระลึกว่าการทำซือสือนั้น เป็นเพื่อการให้เขาเหล่านั้นหลุดพ้นจากความทุกข์
.........หากไม่จริงใจ ไม่เกิดสมาธิ ความคิดไม่ศรัทธาสำรวม แล้วจะให้เทพเทวาธรรมบาล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายปกปักรักษาช่วยเหลือได้อย่างไร
-----------------------------------------------------------------
.........2/ อย่านึกว่าภูตผีนั้นหลอกได้ง่ายนะ บุญกรรมของคนกับผีนั้นก็ไม่ต่างกันนัก ต่างกันเพียงสภาวะของจิต ณ ขณะหนึ่งเท่านั้นเอง
.........หากขณะทำพิธีมักคิดนึกไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง (ก็เหมือน) มีกุญแจเหล็กมาปิดล๊อคกระแสสมาธิ ทำให้เหล่าผีไม่สามารถรับอาหารนั้นได้
.........อย่างเช่นมีพระรูปหนึ่งเช่นกัน ขณะทำพิธีกลับไปนึกถึงเสื้อผ้าที่ตากไว้ตอนฝนตกอยู่ ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านขึ้นขณะทำพิธี จึงได้รับกรรมสนอง
.........กรรมที่สนองในชาตินี้เปรียบเหมือนกับ คนเราทำความชั่ว หากผลกรรมยังไม่สุกงอม ก็ยังไม่ได้รับผลกรรมนั้นๆ
.........แต่ภพภูมิวิญญาณไม่ใช่เช่นนั้น พวกเขามีอยู่จริง และอยู่ใกล้รายรอบคนเราอีกด้วย
.........กรรมที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณจึงสนองรวดเร็วมาก สุดท้ายมีพระภิกษุรูปหนึ่งเห็นภาพพระสงฆ์มากมายในสมาธิถูกจองจำในคุกมืด ด้วยใบหน้าทุกข์ตรม
.........พอได้ถามจึงรู้ว่า เป็นพระที่ทำซือสือแล้วไม่สำรวมศรัทธา และคิดฟุ้งซ่านมากรับกรรมนั่นเอง
-----------------------------------------------------------------
.........3/ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ตั้งใจทำซือสือใหม่ๆ อย่าได้เพ่งมโนภาพจนเกินไป ต้องค่อยๆเพ่ง
.........เพียงขอให้ระลึกได้ถึงความทุกข์ความโศกเศร้าของเขาเหล่านั้นเป็นที่ตั้ง
.........หนึ่งวันของภูมิมนุษย์เท่ากับ สองพันปีของภพวิญญาณ พวกเขาได้แต่หิวโหยแต่ไม่ตาย
.........ได้แต่ทนทุกข์ทรมานทุกๆเวลา มิอาจหยุดพัก จิตฟุ้งซ่านและอัตตาของเราจะทำให้เขาไม่สามารถรับอานิสงค์ต่างๆได้
.........แต่หากเราบังเกิดใจเมตตากรุณาและปณิธานที่จะฉุดช่วย ก็มีโอกาสทำให้เขาได้ไปเกิดยังภพภูมิที่ดียิ่งขึ้นได้
.........อาจจะได้ไปเกิดยังแดนสุขาวดีก็เป็นได้เช่นกัน ขอให้ตั้งจิตมั่นกล้าทำเปรตพลีซือสือนี้เถิด
.........การปฏิบัติของเธอกับพระโพธิสัตว์นั้นก็ไม่แตกต่าง พุทธะโพธิสัตว์ทั้งหลาย
.........เทพพรหมธรรมบาลทุกเหล่าต่างอนุโมทนาแก่เธอ ต้องเชื่อมั่นในตน เชื่อในในพระธรรม
-----------------------------------------------------------------
.........4/ พระอาจารย์เหลียนฉือมักนำตัวอย่างของพระสงฆ์มาแสดง ที่ต่างจากเราท่านทั้งหลาย เพราะอะไรหรือ?
.........เพราะว่าพระผู้ทำพิธีเปรตพลี เป็นตัวแทนถือบาตรและจีวรของพระตถาคตเจ้า
.........หากสงฆ์เหล่านั้นไม่เคารพสำรวมต่อพระรัตนตรัย มิศรัทธาจริงต่อธรรมะ ฉะนั้นผลกรรมจึงหนักมาก
.........ในทางกลับกัน ในส่วนฆราวาสทั้งหลาย เพียงแค่การบังเกิดจิตทำการเปรตพลีซือสือก็นับว่ายิ่งใหญ่มากแล้ว
.........เราอาจจะต้องเผชิญกับความกลัว ความกังวล เริ่มมีจิตฟุ้งซ่าน พุทธะโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นก็เข้าใจและให้อภัยเราได้
.........ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อาจจะเกื้อหนุนให้เราได้สงบจิตสงบใจได้มากขึ้น ให้เราเกิดวิริยะมากขึ้น ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งถูกต้องมากขึ้น .........อาตมามีความคิดเช่นนี้ ตั้งแต่อาตมาทำซือสือมา ก็เคยเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นในจิต แต่อาตมามักจะรู้สึกว่าพวกเขาเมตตากรุณามากกว่าอาตมาเสียอีก พวกเขาล้วนเข้าใจตัวอาตมามากกว่าตัวเองเสียอีก
-----------------------------------------------------------------
.........5/ พวกเราเป็นคนธรรมดา มิใช่พระ เป็นคนธรรมดาที่ได้บังเกิดจิตปณิธานแห่งมหายานธรรม
.........ถึงแม้การศึกษาธรรมะของเรายังไม่กลมสมบูรณ์ ยังโง่เขลาอยู่ แต่อาตมาเชื่อมา พุทธะโพธิวัตว์ทั้งหลายจะช่วยเหลือพวกเรา ไม่ละทิ้งเด็ดขาด
.........จุดนี้ถือว่าสำคัญมาก พระกษิครรภ์โพธิสัตว์เคยช่วยเหลืออาตมาหลายครั้ง หนึ่งในนั้นคือ ขณะทำซือสือนั่นเอง
.........ก่อนจะทำพิธี อาตมาก็วอนขอพระองค์ฯ หรือกระทั่งตอนสวดแผ่บุญกุศลก็มักอธิษฐานว่า ขอให้พุทธะโพธิสัตว์ทั้งหลาย เทพนาคราชทั้งแปดฝ่าย ช่วยให้การซือสือเรียบร้อยสมบูรณ์ ไร้อุปสรรคใดๆ
.........หรือขอให้พระโพธิสัตว์ทั้งปวงชำระบาปทั้งสามของอาตมาให้บริสุทธิ์ ซือสือไร้อุปสรรคใดๆ
.........จากนั้นก็ทำตามพิธีกำหนดก็เป็นอันใช้ได้แล้ว หากขณะทำพิธีเกิดผิดพลาดบ้าง เช่นลืมดีดนิ้วเจ็ดครั้ง หรือลืมบทมนต์บางบท นั่นเป็นเพราะเราเกิดจิตฟุ้งซ่าน เกิดความกลัวกังวลขึ้นนั่นเอง
.........แต่ขอให้วางใจ สิ่งนี่ไม่ได้ทำให้เรานั้นประสบเหตุเภทภัยใดๆหรอก
-----------------------------------------------------------------
.........6/ ปัญหาต่างๆ เกิดเพราะใจของเรา ต้องเริ่มแก้ไขจากความคิด อย่ารีบร้อนเพ่งมโนภาพ อย่าลังเลสงสัยว่าจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ทำถูกหรือไม่ เป็นต้น
.........เธออาจจะเพ่งมองภาพของพระอมิตตาภพุทธเจ้าสม่ำเสมอ น้อมนำภาพพระองค์ประทับไว้ในจิต ในความคิด
.........ขณะทำพิธีให้นึกว่ารัศมีของพระองค์อยู่เบื้องหน้า รอบกายเป็นดอกบัวมากมาย
.........การมโนภาพเช่นนี้ช่วยให้สรรพสัตว์ทั้งหกภูมิได้รับการฉุดโปรดหลุดพ้น พวกเขาเหล่านั้นจะหลุดพ้นได้เพราะกำลังมโนภาพของเธอนั้นเอง จะต้องไม่ลังเลสงสัย
-----------------------------------------------------------------
.........7/ ในการสวดพระนาม ให้นึกภาพสี่พระพุทธะได้แปรสิ่งที่ไม่งาม ให้กลายเป็นสิ่งสวยงามน่าชม
.........จากเล็กแปรเป็นใหญ่ ไร้เมตตาก็แปรเป็นมหาเมตตา โลภะ เปลี่ยนเป็น เสียสละปล่อยวาง เป็นต้น...
.........นอกจากนั้น ก่อนทำซือสือควรแปรงฟันให้สะอาดหมดจด ของใช้ในพิธีห้ามใช้เป็นของตนเอง
.........หลายๆ ครั้งอาตมาลืมล้างมือแปรงฟัน อาตมาจึงน้อมกราบพระโพธิสัตว์ทั้งหลายชำระกรรมทั้งสามให้บริสุทธิ์เสียก่อน
.........การนอบน้อมเคารพถือเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องนอบน้อมเคารพสรรพสัตว์ทั้งหกภพภูมิ ด้วยจิตที่เคารพดั่งเคารพพ่อแม่และพระพุทธะโพธิสัตว์เช่นกัน
.........ไม่แตกต่าง หากใจของเธอเสมอภาคแล้ว สงบแล้ว นอบน้อมสำรวมแล้ว ก็จะทำพิธีได้ดี
.........หากมีกิจธุระไม่สามารถซือสือได้ ก็อย่าได้กังวลใจเกินไป จงจำไว้ว่าจะต้องรักษาใจให้สงบผ่อนคลาย
.........หากเธอสงบแล้ว บรรดาดวงจิตทั้งหลายก็จะยิ่งปีติสุขในสิ่งที่เธอนั้นได้ประพฤติปฏิบัติดีแล้วนั่นเอง

ประชานิยมระดับประถม

ประชานิยมระดับประถม
--------------------------------------------------------------------
........ประชานิยมที่สมคิดเอามาเล่นอยู่นี้เป็นประชานิยมขั้นประถมของนายกทักษิณ
........ถ้าติดตามเรื่องนโยบายของพรรคไทยรักไทย มาถึงพรรคเพื่อไทย ในแง่เศรษฐกิจจะเห็น ความเข้มข้นมากขึ้นมาเรื่อยๆ
........เริ่มต้นด้วยกองทุนหมู่บ้าน SML พักหนี้เกษตกร และอื่นๆ เป็นขั้นประถม
........ลำดับต่อมาในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์กับนโยบาย เรื่องบัตรเครดิตเกษตกร รถยนต์คันแรก จำนำข้าว ค่าแรง300 บาทและอื่นๆ เป็นขั้นมัธยม
........มาถึงโครงการเม็กกะโปรเจคที่เตรียมการไว้ ได้แก่รถไฟความเร็วสูง โครงการจัดการน้ำ ทั้งระบบ โครงการรถไฟรางคู่ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ
........ล้วนเป็นนโยบายที่ใช้เงินจำนวนมาก และพลิกประเทศไทย และส่งผลให้เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างยาวนานแน่นอน
........ถ้าปล่อยให้พรรคเพื่อไทยทำสำเร็จ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับเข้มข้นมาก สมกับชัยภูมิศูนย์กลางของ อาเซี่ยน และก้าวเป็นผู้นำแห่งอาเซี่ยนในทางยุทธศาสตร์ และในอนาคต
--------------------------------------------------------------------
........จะเห็นได้ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยตอบโจทย์ประเทศ เหมือนละลอกคลื่น ถาโถมสู่เศรษฐกิจประเทศอย่างเป็นน้ำ
เป็นเนื้อ
........ส่งผลการเปลี่ยนแปลงประเทศทั้งทางกายภาพ คือเกิดสาธรณูปโภค ตึกอาคารบ้านจัดสรร กระจายความเติบโตตามหัวเมือง ใหญ่เส้นทางรถไฟความเร็วสูง
........เกิดการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศอย่างมหาศาล มีการสร้างงาน มีอาชีพ ลดช่องว่างทางสังคม การท่องเที่ยวเติบโตเป็นร้อยเปอร์
เซนต์ รัฐจัดเก็บภาษีได้มากเป็นเท่าตัวปี งบประมาณก็ขยายขึ้น
........รายได้ที่เศรษฐกิจเติบโตขนาดนี้ จึงเป็นคำตอบได้ดีว่าหนี้ที่ลงทุนกับ
เม็กกะโปรเจ็คที่กล่าวหาว่าจะเป็นภาระลูกหลานไทยนั้นไม่เป็นความจริง
........เพราะจะมีเงินที่จัดเก็บได้จากฐานภาษีที่ใหญ่ขึ้นเป็นเท่าตัว มาใช้หนี้คืนได้อย่างแน่นอน
----------------------------------------------------------------
........ส่วนคุณสมคิดจะมาแก้ปัญหาด้วยประชานิยมระดับประถม ก็มิอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน
........เพราะเป็นกระตุ้นที่น้อยเกินไปกับภาวะเศรษฐกิจโลก และการแอนตี้จากโลกเสรีเพราะเรากลายเป็นเผด็จการในประชาธิปไตยไปแล้ว
........ทำให้มีปัญหาเรื่องการส่งออกเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศ เพียงแค่รักษาทุนเดิมก็แย่อยู่แล้ว
........รัฐบาลเผด็จการเป็นตัวปัญหาหลักของความเชื่อมั่นทั้งหลายทั้งปวง เป็นจิตวิทยาที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ
........มันจึงเป็นจุดสลบของเศรษฐกิจประเทศไทย ไม่ใช่คุณสมคิดไม่มี
ฝีมือ จึงกล้าฟันธงว่าจะไปไม่รอด
........คนไทยเราปล่อยโอกาสความรุ่งเรืองหลุดลอยไปแล้ว.....แค่หูเบา เท่านั้นเอง